เครื่องวัดฝุ่นละอองในอากาศ

ตามที่ได้ทราบผ่านการรายงานข่าว รวมถึงสารที่ส่งผ่านสื่อออนไลน์ต่างๆ เกี่ยวกับมลพิษทางอากาศที่ผ่านมา พบว่าในบางพื้นที่มีฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM10) ที่ยังเกินเกณฑ์มาตรฐานที่ประเทศไทยกำหนด อีกทั้งยังพบกับปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน หรือที่เรียกว่า PM 2.5 โดยฝุ่นขนาดเล็กนี้สามารถเกิดได้จากกระบวนการทางเคมี เข่น กระบวนการเผาไหม้เชื้อเพลิง ไม่ว่าจะเป็น น้ำมัน ถ่านหิน กระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้า ยานพาหนะ การเผาป่า การเกษตร และกระบวนการทางกลศาสตร์ เช่น การระเบิด บดย่อยหินในโรงโม่หินหรือการก่อสร้าง ซึ่งทุกกระบวนการนี้ย่อมก่อให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็กจำนวนมาก ถึงจะมีการกำหนดมาตรฐานลดและป้องกันอย่างมากมาย แต่ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กยังคงเป็นปัญหาในหลายพื้นที่ สำหรับการดำเนินการเฝ้าระวังด้านมลพิษอากาศที่มีอยู่ในปัจจุบันจะมีสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ โดยกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการเฝ้าระวังด้านสุขภาพ โดยกระทรวงสาธารณสุข  มีการจำแนกประเภทของฝุ่นละอองในอากาศจากลักษณะของการเกิดฝุ่นละอองเป็น 2 ประเภท ดังนี้  ฝุ่นปฐมภูมิ (Primary Emission Particulate …